top of page

3 ส่ิงที่จะทำให้คุณแซงทางโค้ง ในงานได้

เคยไหมที่คุณรู้สึกว่า ทำงานได้เร็วกว่าคนอื่น แต่ทำไม่มีใครเห็นสักที มีสามสิ่งที่จะช่วยได้



สรุปจากบทความ CNBC - make it


ปัจจุบันที่ทำงานเปลี่ยนไปอย่างมากจากเดิมเมื่อสิบปีที่แล้ว ทุกอย่างเร็วขึ้น ยืดหยุ่นมากขึ้น เปิดให้มีส่วนร่วมมากขึ้น และมีเป้าหมายที่สำคัญนอกเหนือจากกำไรมากขึ้น แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนเลยก็คือ พื้นฐานสำคัญของการเป็น High Performer (ผู้มีผลการปฏิบัติงานเหนือความคาดหมาย)


ทำงานให้หนักขึ้น ไม่ใช่ให้ฉลาดขึ้น (Work harder, not smarter)


มีหลายครั้งที่ผมได้ยินคนบ่นว่า ฉันทำงานดีกว่าคนอื่น เสร็จงานใน 40 ชั่วโมง ในขณะที่คนอื่นเสร็จงานใน 60 ชั่วโมง ซึ่งก็จริง แต่ว่าสิ่งนี้ไม่ได้บอกว่าคนเป็น High Performer แต่บอกว่าคุณเป็นคนมีประสิทธิภาพ (High Efficient) ซึ่งส่วนใหญ่ท่านเหล่านี้มักจะเน้นการทำงาน และหลีกเลี่ยง การพบปะ พูดคุย กับผู้อื่น และมักจะหาที่ทำงานในมุมตนเอง หรือจากที่บ้าน ซึ่งจะทำให้งานเสร็จเร็ว แต่ไม่ได้สร้างความสัมพันธ์ที่ดี ที่สำคัญเพื่อความสำเร็จ และความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน


การทำงานให้เสร็จเร็วกว่าคนอื่นๆ นั้นไม่ได้หมายถึงว่าคุณเป็น High Performer แต่เป็น Fast Average Perfomer หรือ Efficient แต่ถ้าคุณเอาเวลาที่เหลือจากงานที่คุณทำเสร็จเร็วไปทำสิ่งอื่นมากขึ้น เช่นไปช่วยงานโปรเจ็คที่คนขาด หรือ นั่งกินกาแฟกับเพื่อนๆเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีขึ้น มาตรฐานของ  High Performer นั้นไม่ใช่ทำงานให้ได้ตามที่กำหนดได้เร็ว แต่จะทำอย่างไรให้ทุกๆเรื่องเกินเป้าหมาย หรือความคาดหวัง


โอเคนะ ที่จะยอมเสียสละกิจกรรมส่วนตัวบ้าง (It's ok to sacrifice other activities for work)


เรื่องนี้จะหมายถึงการสร้าง วังวนของความสำเร็จ เพราะการที่คุณยอมแบ่งเวลาเพิ่มเพื่อสร้างความสำเร็จในงานนั้น จะหมายถึงว่า คุณจะได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นทั้งเพื่อนร่วมงาน และผู้บริหาร และมีผลงานที่ดีมากๆ เยอะขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งจะทำให้คุณมีโอกาสใหม่ๆ เข้าถึงผู้บริหารระดับสูงได้มากขึ้น แม้ว่าเราจะไม่รับประกันความสำเร็จแต่รับประกันได้ว่าคุณจะมีโอกาสมากกว่าคนอื่นๆ รอบๆข้าง


ผลงานเป็นเรื่องของการเปรียบเทียบ (Performance is relative)


การเปรียบเทียบผลงานคุณ กับคนอื่นเป็นสิ่งหนึ่งที่จะทำให้แตกต่าง สมมติว่าคุณสามารถสร้างยอดขายได้ 125% ในขณะที่สมศักดิ์สามารถขายได้ 150% สมศักดิ์จะถือว่าเป็น High Performer


แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าให้คุณมองเพื่อนร่วมงานเป็นคู่แข่ง แต่สำคัญที่ว่าการมองผลงานของคุณเทียบกับคนรอบข้าง เป็นการเทียบเพื่อให้เราเข้าใจว่าผลงานเราอยู่ตรงไหน


ข่าวดีก็คือว่า การเป็น High Performer ไม่เป็นเรื่องบังคับ คุณยังคงสามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุข มีสุขภาพที่ดี และไปถึงสิ่งที่คุณต้องการในชีวิตโดยไม่ต้องเป็น High Performer แต่การที่เราเข้าใจปัจจัยเหล่านี้จะทำให้คุณสามารถที่จะเลือกได้ว่าคุณจะวางแผนชีวิตในงานคุณอย่างไร


บางท่านอาจจะมีเป้าหมายนอกเหนือจากงาน ก็สามารถทำงานให้ได้ตามเป้าหมาย และก็มีความสุขกับชีวิต โดยยอมรับที่มีคนที่เป็น High Performer และก็ชื่นชมความสำเร็จของเขา หรือคุณจะเลือกที่จะเป็น High Performer เอง สามสิ่งนี้ก็จะช่วยนำทางคุณไปสู่เป้าหมายนั้นได้


อ่านต้นฉบับได้ที่ https://www.cnbc.com/2019/01/11/leadership-coach-marc-effron-3-mental-truths-high-performers-embrace.html?__source=facebook%7Cmain




799 views0 comments
bottom of page