top of page

แล้วคนโสดจะไม่เหงาอีกต่อไป

(Virtual Girlfriend by AI & Holographic technology)





ใครที่เคยดู Blade Runner ภาคล่าสุด (Blade Runner 2049) ก็คง อดฟิน ไม่ได้กับความน่ารักของ จอย (Joi) เพื่อนสาวสามมิติของพระเอก ดูแล้ว ตัวผมเอง และเชื่อเลยว่า หนุ่มๆ อีกหลายคนทั้งโสด และไม่โสด ต้องอยากจะมี จอย ไว้คุยเล่นเป็นเพื่อนคลายเหงากันบ้าง




เชื่อมั้ยครับ ว่าตอนนี้ เป็นไปได้แล้ว


ที่ประเทศญี่ปุ่น มีผลิตภัณฑ์ของ GateBox ถึงจะไม่ได้ออกมาเป็นรูปแบบคนจริงๆ เหมือน Joi ในหนัง แต่มาในรูปตัวการ์ตูนอานิเมะ สามมิติ คิขุ น่ารัก ในกล่องใสทรงกระบอก มีชื่อว่า “Azuma Hikari”แต่ก็ฟิน กันได้เลยทีเดียว เพราะนอกจากเป็นเพื่อนคุยกันที่บ้านแล้ว ยังสามารถช่วยสั่งงานเปิด ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ แทนเรา เตรียมเปิดไฟ เปิดแอร์ ต้อนรับตอนเรากลับบ้าน เหมือนเป็นแม่บ้านส่วนตัว นอกจากนี้ยังมีการ ChitChat กันระหว่างวัน แสดงความเป็นห่วงเป็นใย ทำให้ชีวิตคนไร้คู่ดูมีชีวิตชีวาขึ้นมา ทำให้บ้านเป็นที่ที่มีความสุข เมื่อรู้ว่ามีใครบางคนรอเราอยู่


แต่ยังไงก็ตามอย่าลืมหาเวลาออกมาเจอเพื่อนๆ ที่เป็นมนุษย์จริงๆกัน บ้างนะครับ เพราะ Robot ยังไง ก็คือ Robot เอาเป็นว่าแค่ใช้เป็นเพื่อนเป็นผู้ช่วยสนุกๆ ก็พอ เดี๋ยวจะพาลได้โสดตลอดชีพจริงๆ อย่าไปจริงจังขนาดคิดเป็นแฟน คิดจะแต่งงานกันจริงๆ เหมือนข่าวที่เคยมีว่ามีคนถึงขั้นประกาศแต่งงานกับตุ๊กตายาง ยังไงความสัมพันธ์ระหว่าง มนุษย์กับมนุษย์ ก็งดงามอบอุ่นกว่าอยู่แล้ว เป็นกำลังใจให้คนโสดทั้งหลายด้วยนะครับ ครั้งหน้าจะเอา Apps หาคู่เจ๋งๆ มาฝากกันนะครับ

Gatebox - Virtual Home Robot





Gatebox เกิดขึ้นจากการพัฒนาของบริษัท Vinclu เป็นอุปกรณ์ประเภท Smart Home ทรงกระบอกขนาดใหญ่ คล้ายเครื่องชงกาแฟ มีกล้องด้านหน้า, เซนเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหว และไมโครโฟนสำหรับรับคำสั่งเสียง สำหรับควบคุมระบบต่างๆ ภายในบ้านได้ คล้าย Amazon Echo และ Google Home ซึ่งในตอนนี้ยังจำกัดใช้ได้เพียงภาษาญี่ปุ่นเท่านั้น

แต่สิ่งที่แตกต่างของอุปกรณ์ชนิดนี้จะมีแท่งแก้วอยู่ด้านหน้า ซึ่งภายในจะมีตัวการ์ตูนที่เสมือน “มีชีวิต” ปรากฏขึ้นมา มีชื่อว่า “Azuma Hikari” โดยเธอจะไม่เป็นเพียงผู้ช่วยส่วนตัว แต่จะทำหน้าที่เป็นเพื่อนให้กับเราด้วย


Azuma Hikari เป็นตัวการ์ตูนสาวที่เคลื่อนไหวได้อย่างอิสระในแท่งแก้ว สามารถโต้ตอบกับเราได้อย่างเป็นธรรมชาติเสมือนตัวการ์ตูนที่มีชีวิตจริง ภายใต้เทคโนโลยี AI ที่คอยเรียนรู้พฤติกรรมประจำวันของเรา แถมเสื้อผ้าที่สวมใส่ยังเปลี่ยนไปตามช่วงเวลาในแต่ละวันได้เองอัตโนมัติ สามารถรายงานสภาพอากาศ, เป็นนาฬิกาปลุก, ควบคุมการเปิดปิดของอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านตามเวลาที่กำหนด


ยิ่งไปกว่านั้น Azuma Hikari ยังสามารถเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟนผ่านแอพเฉพาะจาก Gatebox เพื่อการติดต่อสื่อสารระหว่างคุณกับ Azuma Hikari ด้วยการส่งข้อความ แม้จะอยู่นอกบ้าน เสมือนเพื่อนสนิทที่คอยถามไถ่สารทุกข์สุกดิบและอยู่ข้างๆ เราในทุกช่วงเวลา โดย Gatebox จะต้องมีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตตลอดเวลา


Gatebox วางจำหน่ายแล้ววันนี้ ในราคา 321,840 เยน หรือประมาณ 94,000 บาท แต่จะจัดส่งเฉพาะในญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกาเท่านั้น



อย่างไรก็ตาม การพัฒนาอุปกรณ์ในลักษณะนี้ แม้จะช่วยเป็นเพื่อนแก้เหงาให้กับผู้ที่อยู่คนเดียว แต่อีกด้านหนึ่งอาจยิ่งทำให้ปัญหาด้านประชากรของญี่ปุ่นเลวร้ายลงไปอีกก็เป็นได้ เนื่องจากปัจจุบันญี่ปุ่นกำลังเผชิญปัญหาอัตราการเกิดต่ำที่สุดในรอบ 68 ปี และผลการศึกษาของสถาบันวิจัยประชากรและสังคมแห่งชาติของประเทศญี่ปุ่น ในปี 2016 พบว่า เกือบร้อยละ 70 ของชายญี่ปุ่นไม่สมรส และร้อยละ 60 ของสตรียังโสด



นอกจากเทคโนโลยี AI ที่อยู่เบื้องหลัง น้อง Azuma Hikari Virtual Robot แล้ว ยังมีอีกเทคโนโลยีนั้นก็คือ Holographic หรือ Hologram นั่นเอง

ที่ผ่านมีการใช้ Hologram มาสร้างความบันเทิงต่างๆ เช่น การนำศิลปินในดวงใจผู้ล่วงลับ กลับมาให้แฟนๆ ได้พบกันอีกครั้งบนเวที


Entertainment Day 260261 : คอนเสิร์ต Hologram ของ Roy Orbison เตรียมเริ่มทัวร์เดือนเมษายนนี้





การรายงานข่าวโต้ตอบกันผ่าน Hologram

CNN Hologram TV First



การช่วยทีมแพทย์ในการวางแผนการผ่าตัด


RealView Imaging - Interactive Medical Holography





ใช้พัฒนา Hard Drive ให้เล็กลงและเก็บข้อมูลได้มากขึ้น

5D, Holograms, & DNA: Amazing Hard Drives of the Future







ฮอโลแกรม (อังกฤษ: Hologram) คือ ภาพชนิดหนึ่งซึ่งมี ลักษณะ 3 มิติ ถูกสร้างขึ้นมาจากการบันทึกข้อมูลด้วย แสงเลเซอร์ โดยบันทึก ริ้วรอยของการแทรกสอด (Interference Pattern) ของแสงเลเซอร์ ทำให้เราสามารถมองเห็นภาพเป็นลักษณะ 3 มิติ แตกต่างจาก ภาพทั่วไปซึ่งเราจะมองเป็นเพียงภาพสองมิติ ไม่มีความลึกทางมิติของภาพเป็นภาพแบน ๆ เรียบ ๆ ทำให้ภาพนั้นดูสวยงามมากขึ้นและยังมีประโยชน์ในด้านอื่น ๆ อีกด้วย



ฮอโลแกรมถูกสร้างขึ้นด้วยกระบวนการที่เรียกว่า ฮอโลกราฟี (Holography) โดยฮอโลกราฟีเป็นเทคนิคที่ช่วยให้แสงกระจายจากวัตถุที่จะบันทึกและได้ถูกสร้างขึ้นใหม่ เพื่อให้ปรากฏเป็นวัตถุอยู่ในตำแหน่งเดิมเมื่อเทียบกับการบันทึก การเปลี่ยนแปลงรูปแบบตำแหน่งและทิศทางของระบบการมองเห็นเป็นไปอย่างถูกต้องเหมือนกับว่าวัตถุก็ยังคงเป็นปัจจุบันจึงทำให้ภาพที่บันทึกปรากฏเป็นสามมิติ ฮอโลแกรม 3 มิติ เป็นเทคโนโลยีรูปแบบหนึ่งที่ใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารระยะไกลระหว่างบุคคลต้นทางและปลายทางที่อยู่ต่างสถานที่กัน สามารถโต้ตอบแบบตัวต่อตัว ฮอโลแกรมแบ่งได้เป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 2 ประเภท คือ white-light hologram ซึ่งภาพฮอโลแกรมที่บันทึกนั้น สามารถมองเห็นได้ด้วยการส่องสว่าง ด้วยแสงสว่างจากธรรมชาติ และอีกประเภทหนึ่งคือ ภาพฮอโลแกรม ที่ต้องถูกส่องสว่างด้วยแสงเลเซอร์ หรือแสงที่มีสภาพหน้าคลื่นสอดคล้องกันในระดับหนึ่ง ถึงจะมองเห็นภาพ 3 มิติได้


คณะนักวิจัยในสหรัฐอเมริกาได้พัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูง ทำให้โฮโลแกรม 3 มิติเคลื่อนไหวคล้ายกับมีชีวิตจริง งานวิจัยด้านโฮโลแกรม 3 มิติมีพัฒนาการก้าวหน้าขึ้นอีกขั้น นับเป็นเวลานานกว่า 30 ปี เครื่องฉายภาพ 3 มิติแบบเรียลไทม์ที่ติดตั้งในตัวหุ่นอาร์ทูดีทูสามารถฉายภาพ 3 มิติของเจ้าหญิงเลอาที่มีการปรับเปลี่ยนภาพเคลื่อนไหวตามเวลาจริงแบบเรียลไทม์ แนวคิดแปลกใหม่น่าสนใจของภาพยนตร์กำลังจะกลายเป็นเทคโนโลยีการสื่อสารทางไกลล้ำสมัยในอนาคต



เทคโนโลยี 3 มิติแบบเรียลไทม์ที่รู้จักกันในชื่อ TelePresence เป็นนวัตกรรมการสื่อสารทันสมัยล่าสุดสำหรับการประชุมทางไกลออนไลน์ สามารถสร้างภาพมายาแบบเต็มตัว ทำให้ภาพ 3 มิติหลุดออกมาจากฉากหลัง ดูเหมือนจริงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับเทคโนโลยีแบบอื่น และ เทคโนโลยี 3 มิติ สร้างมาเพื่อประโยชน์ของคนจำนวนมาก สามารถนำไปใช่ได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็น ด้าน อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์และเครื่องบิน และยังก่อเกิดประโยชน์สูงสุดในด้าน ทางการแพทย์สามารถใช้เทคโนโลยี 3 มิติช่วยในการออกแบบการผ่าตัด ตลอดจนสามารถระดมทีมแพทย์จากทั่วโลกเข้าร่วมมือในการผ่าตัดที่ซับซ้อนในเวลาเดียวกัน ทำให้การรักษามีความแม่นยำและประสบความสำเร็จสูงสุด



Holographic Storage เป็นอุปกรณ์ที่ใช้แสงเลเซอร์เขียนข้อมูลลงไปในเนื้อของวัตถุ ดังนั้นที่เห็นประโยชน์ได้อย่างชัดเจนคือ ปริมาณข้อมูลที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากมีพื้นที่ในการเขียนมากกว่าเดิมเมื่อเทียบกับการเขียนข้อมูลที่พื้นผิวระนาบ ถ้าจะเปรียบเทียบเป็นเชิงสมการจะเห็นว่าเมื่อใช้ Holographic Storage ปริมาณข้อมูลที่เขียนได้จะเป็นสัดส่วนกับกำลังสามของวัตถุ แต่ถ้าเป็นการเขียนข้อมูลบนพื้นผิวในแนวระนาบจะได้เพียงกำลังสอง ประโยชน์อย่างหนึ่งในการใช้แสงเลเซอร์คือความรวดเร็วในการเข้าถึงข้อมูล เนื่องจากความเร็วของแสงเมื่อเปรียบเทียบการอุปกรณ์เครื่องกลที่ใช้เป็นหัวอ่านข้อมูลแตกต่างกันมาก นอกจากนี้ Holographic Storageสามารถสืบค้นข้อมูลโดยใช้ข้อมูลเป็นกุญแจในการค้นหา นอกจากนี้ในขณะที่แม่เหล็กและออปติคอลมีการจัดเก็บข้อมูลในแบบเชิงเส้น แต่การจัดเก็บแบบโฮโลแกรมนั้นมีความสามารถในการบันทึกและอ่านนับล้านบิตในแบบขนาน ทำให้อัตราการถ่ายโอนข้อมูลที่สูงกว่าการจัดเก็บแบบออปติคอลในปัจจุบัน กลไกการอ่านข้อมูล



ข้อมูลที่เก็บไว้จะถูกอ่านผ่านการทำสำเนาของลำแสงอ้างอิงเดียวกับที่ใช้ในการสร้างฮอโลแกรม ลำแสงอ้างอิงรวมแสงบนวัสดุที่ไวแสง รูปแบบการแทรกแซงที่เหมาะสมทำให้แสงแตกกระจายมื่อผ่านช่องรับแสงหรือสิ่งกีดขวางลงบนเครื่องตรวจจับ โดยเครื่องตรวจจับมีความสามารถในการอ่านข้อมูลในแบบคู่ขนานมากกว่าหนึ่งล้านบิตในครั้งเดียว ให้ผลในการถ่ายโอนข้อมูลที่รวดเร็ว ไฟล์ในไดรฟ์ฮอโลแกรมสามารถเข้าถึงได้ในเวลาน้อยกว่า 200 มิลลิวินาที

ฮาร์ดดิสก์ที่ใช้หลักการฮอโลกราฟิกนั้น ด้วยขนาดเพียง 5 นิ้ว สามารถจุได้สูงถึง 125 จิกะไบต์ เป็นอย่างต่ำ และอาจไปถึง Terra Byte (1000GB) ส่วนความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลอยู่ที่ 30 เมกะไบต์ต่อวินาที



อ้างอิง

291 views0 comments
bottom of page