top of page

Lean Canvas คือ เครื่องมือสร้างแผนธุรกิจอย่างรวดเร็ว!

Lean Canvas คือ ?

Lean Canvas คือ เครื่องมือที่ช่วยในการเขียนแผนธุรกิจ (Business plan) ฉบับย่อได้อย่างอย่างรวดเร็วที่มีความเหมาะสมสำหรับกลุ่มธุรกิจ Startups ซึ่งบางครั้งได้รับความนิยมในการนำไปใช้ในการแข่ง Hackathon อีกด้วย เนื่องจากช่วยให้ผู้บริหารหรือผู้เข้าแข่งขันสามารถเห็นภาพรวมของธุรกิจได้ภายในเวลาอันสั้น ทั้งนี้เพื่อให้ธุรกิจแน่ใจว่าสินค้าและบริการ (Product and Service) ที่ทำออกมานั้นจะตรงกับความต้องการของตลาด รวมไปถึงจุดแข็ง ช่องทางการตลาด ที่มาของรายได้และรายรับ เป็นต้น โดยอาจจะใช้เป็นกระดาน White Board เล็กๆระดมสมองแล้วนำ Post it มาแปะเป็นข้อๆ หรือเขียนลงในกระดาษ A4 ก็ได้ สำหรับการเขียนแผนธุรกิจ Lean Canvas เราต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับองค์ประกอบทั้งหมด 9 ข้อให้ดีเสียก่อน

Lean Canvas ประกอบไปด้วย

1. Customer Segments

ปัจจัยแรกของการทำ Lean Canvas คือการระบุกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย นั่นก็คือการระบุกลุ่มผู้บริโภคทั้งหมดที่มีโอกาสเป็นลูกค้าขององค์กร โดยที่เราจะให้ความสำคัญกับผู้ที่มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนมาใช้ในลำดับแรกก่อน นั่นก็คือ Early Adoption อย่างเช่น Customer Segment ของ Terebinth Cloud ERP คือ กลุ่มลูกค้า SME ที่กำลังพัฒนาธุรกิจของตน โดยมี Early Adoption คือกลุ่มทีกำลังมองหาโปรแกรมบริหารงานองค์ โปรแกรมบัญชี เป็นต้น

2. Problems

เป็นการระบุปัญหาทั้งหมดของกลุ่มลูกค้าที่เราได้ระบุไว้ในส่วนที่ 1 ที่พวกเขาเหล่านั้นพยายามจะดำเนินการแก้ไข เพื่อให้เกิดความเข้าใจว่าปัญหาหลักๆของลูกค้าอะไรบ้างที่ส่งผลให้ลูกค้ามีความต้องการที่จะซื้อหรือเปลี่ยนมาใช้สินค้าและบริการของเรา รวมไปถึงทางเลือกอื่นๆ ของลูกค้าที่ลูกค้าเลือกใช้ทดแทนในการแก้ไขปัญหา (Existing Alternatives) ทั้งนี้ที่จำเป็นต้องระบุ Problems ใน Lean Canvas เนื่องจากเพื่อเป็นการพัฒนาสินค้าและบริการโดยมีรากฐานมาจากความเข้าใจในปัญหาของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายนั่นเอง

3. Unique Value Proposition

เมื่อเราทราบถึงกลุ่มลูกค้าและปัญหาของกลุ่มลูกค้าของเราแล้ว ในส่วนต่อไปเป็นการระบุจุดเด่นของสินค้าและบริการของเรา ซึ่งเราต้องระบุคือ คุณสมบัติ (Features) และอรรถประโยชน์ (Benefits) ที่ตรงตามความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของเราด้วย เช่น เป็นระบบ ERP ราคาประหยัดแต่ครอบทุกกระบวนการทางธุรกิจของลูกค้า เป็นต้น

4. Solution

ขั้นตอนนี้เป็นการวิเคราะห์และระดมสมองเพื่อระบุแนวทางหรือวิธีการของบริษัทที่สามารถแก้ปัญหาเดิมที่เป็นอยู่ของลูกค้าได้ ซึ่งต้องมีความสอดคล้องกับปัญหาของลูกค้า (Problems) ในส่วนที่ 2 ด้วย เช่น ระบบ ERP ที่ยืดหยุ่มสามารถประยุกต์ใช้กับการดำเนินธุรกิจทุกรูปแบบ

5. Channels

คือการระบุช่องทางที่เราสามารถนำสินค้าและบริการหรือสื่อสารคุณค่าของสินค้าและบริการไปถึงลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้ เช่น ผ่านการทำการตลาด SEO ด้วย Keyword ที่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายใช้หา Solution ในการแก้ปัญหาของตน หรือ Showcase ต่างๆที่สามารถออกได้ หรือ Direct Sales เป็นต้น

6. Revenue Stream

ระบุกระแสของรายรับซึ่งรวมไปถึงกลไกลการตั้งราคาของสินค้าและบริการ โดยจะระบุทุกแหล่งที่มาของรายได้ที่เป็นไปได้ของบริษัท ไม่ว่าจะเป็นรายได้จากการขายสินค้า ค่าบริการ ค่าสมาชิก ค่าบำรุงรักษา ฯลฯ

7. Cost Structure

คือโครงสร้างต้นทุน ระบุต้นทุนทั้งหมดของบริษัท ทั้งในส่วนของต้นทุนคงที่ (Fix Cost) เช่น ค่าเช่าออฟฟิศ เงินเดือนพนักงาน และต้นทุนผันแปร (Variable cost) เช่น ต้นทุนการดำเนินการ ค่าน้ำค่าไฟ ค่าแผ่นพับสำหรับการนำเสนอ การลงทุนใน Sales Pitch เป็นต้น

8. Key Metrics

คือปัจจัยหรือตัวชี้วัดที่สำคัญที่สามารถบ่งบอกได้ว่าสิ่งใดจะทำให้บริษัทประสบความสำเร็จหรือไม่สำเร็จ และมีโอกาสที่จะเติบโตในอนาคตหรือไม่ เช่น จำนวนสินค้าที่ขายได้ในแต่ละเดือน จำนวนลูกค้าที่ Sign-up จำนวนลูกค้าที่ยกเลิกสัญญา เป็นต้น

8. Unfair Advantage

ข้อได้เปรียบหรือจุดเด่นของบริษัทที่มีความโดดเด่นเหนือกว่าคู่แข่งในตลาด และต้องสามารถลอกเลียนแบบได้ยาก ทั้งนี้อาจรวมเทคนิคต่างๆ หรือ Resource ต่างๆที่องค์กรมี

Lean Canvas การเขียนแผนธุรกิจอย่างรวดเร็ว 

เมื่อเราสามารถระบุองค์ประกอบทั้ง 9 อย่างได้ครบถ้วนแล้ว จะเห็นได้ว่าการเขียนแผนธุรกิจฉบับย่อ Lean Canvas ช่วยให้ธุรกิจ Startups สามารถเห็นภาพรวมขององค์กรได้อย่างรวดเร็ว โดยที่การเขียนแผนธุรกิจ Lean Canvas ควรจะสามารถทำให้เสร็จได้ภายในเวลา 20-30 นาที สำหรับบทความต่อไปเราจะมาขยายความในส่วนของ Unique Value Proposition และ Customer Segments “การออกแบบสินค้าและบริการที่เกิดคุณค่าแก่ลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย” หรือที่เราเรียกกันว่า Value Proposition Canvas ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของการทำ Lean Canvas เลยก็ว่าได้


บทความต้นฉบับ : https://www.tereb.in.th/erp/lean-canvas/


21,653 views0 comments
bottom of page