top of page

LEAN แนวคิดทำน้อยแต่ได้ผลมาก

แนวคิดที่ช่วยให้งานเสร็จไว มีประสิทธิภาพ ลดสิ่งที่ไม่จำเป็น เค้นกำไร

LEAN คือ แนวคิดที่ช่วยให้ทำงานเสร็จไวและมีประสิทธิภาพโดยกำจัดสิ่งที่สูญเปล่า

1. คุณค่า กับ ความสูญเปล่า

สิ่งที่สูญเปล่า (Muda) มีอยู่ทุกที่ เราต้องแยกให้ออกว่า สิ่งไหนสร้างคุณค่าในระยะยาว สิ่งไหนเป็นความสูญเปล่าที่ควรจะลดหรือกำจัดสิ่งใดก็ตามที่ไม่ส่งผลให้เกิดการเรียนรู้ การพัฒนาในระยะยาว นั่นคือความสูญเปล่า

KEYWORD: MUDA = WASTE = ความสูญเปล่า

ประเภทของความสูญเปล่า (Muda) ในแนวคิดของ LEAN มีอยู่หลายอย่างเหมือนกัน


7 Muda + 1

  • Overproduction ผลิตเกิน

  • Inventory มีสินค้าคงคลัง

  • Transportation ต้องมีการขนย้าย

  • Motion เคลื่อนไหวไม่ถูกสุขลักษณะ

  • Processing มีขั้นตอนซับซ้อน

  • Delay ต้องรอ

  • Defect ของเสีย

  • Underutilized People ใช้คนไม่ถูกกับงาน

Muda Examples

ตัวอย่าง Muda ในแต่ละสถานการณ์ เพื่อเป็นแนวทางให้สามารถประยุกต์กับการทำงานได้หลายรูปแบบ

Muda ในที่ทำงาน

  • ต้องเอื้อมหยิบจับอะไร บ่อยๆ นั่งไม่ถูกสุขลักษณะ (Motion)

  • อากาศไม่ถ่ายเท คนป่วยบ่อย ติดทั้งออฟฟิศ งานช้า (Motion)

  • ต้องเดินไปเดินมา เพราะของในที่ทำงานกระจัดกระจาย (Processing)

  • ซื้อของมาเผื่อไว้ แต่ไม่ได้ใช้ (Inventory) สุดท้ายเสีย (Defect)

  • ต้องรองานจากอีกคนนึงอยู่เสมอ (Delay)

  • ใช้คนที่ไม่ถนัดไปทำบางงาน ซึ่งอาจได้ผลไม่ดี (Underutilized People)

  • ทำงานให้สมบูรณ์แบบเลย เผื่อไว้เยอะๆ แต่ลูกค้าไม่ใช้ (Over production)

  • เดินทางไกลๆ ต้องเทียวไปเทียวมาบ่อยๆ (Transportation)

2. ลดละเลิก Muda

หลังจากที่เรารู้อยู่แล้วว่าเราต้องสิ้นเปลืองทรัพยากรไปแค่ไหนกับการที่มี Muda เนี่ย เราก็ควรที่จะรู้วิธีที่จะลดมัน

Ex. ยอดสั่งของต้องทำวันนี้ 1000 ชิ้น ไม่ควรที่จะผลิต 1200 ชิ้น (Over Production) เพราะจะเหลือและเก็บเป็นสินค้าคงคลัง (Inventory)

วิธีแก้คือ ผลิตให้พอดีตามยอด 1000 ชิ้น (Just In Time — JIT) ไม่ขาดไม่เกิน

Ex. เราต้องทำงานซ้ำๆ แล้วผิดพลาดบ่อย ในโรงงานแถมยังทำช้าอีก ชิ้นส่วนซับซ้อน

วิธีแก้คือ ทำแขนกลหรือหุ่นยนต์ขึ้นมา ให้ทำงานแทนเรา (Automation — JIDOKA)

JIT & JIDOKA

  • ทำงานให้พอดีในเวลาที่พอดี ไม่ขาดไม่เกิน

  • ค่อยๆพัฒนาไปใช้ automation ช่วยลดงานที่ต้องใช้คน

  • หรืออาจจะสร้างระบบงานที่ลดขั้นตอนได้

  • สั่งงานแค่ไหน อย่าทำเผื่อมาก

  • ดูความต่อเนื่องในงาน

  • มีการแจ้งเตือนเวลาเกิดเรื่องผิดปกติ เช่น server down

สองคำนี้เป็นสองเสาหลัก ในการทำงานด้วยแนวคิดของ LEAN ซึ่งเริ่มต้นมาจาก Toyota Production System

Toyota Production System (TPS)

TPS นับว่าเป็นจุดกำเนิดของ LEAN เลยก็ว่าได้



ประวัติของ LEAN

Toyota Production System เกิดมาประมาณ 50 ปี แล้ว MIT เอาไปวิจัยสุดท้ายตั้งชื่อใหม่ว่า LEAN

แต่จริงๆ พวกนี้ ไม่ได้มีแค่ TOYOTA มีทั้ง Japanese Production System (JPS), Japanese Management System (JMS) ถ้าพูดแนวเรื่อง LEAN คนที่ทำบริษัทญี่ปุ่นจะเข้าใจเรื่องพวกนี้ แต่บางทีก็อาจจะมีมุมมองและการตีความที่ต่างกันไป

3. LEAN มีหลายความหมาย

เป็นแนวคิด แล้วแต่คนตีความเวลานำไปใช้ ความเข้าใจในหลายแง่มุมจะทำให้ประยุกต์ใช้ได้ดีขึ้น ซึ่งเราก็ควรจะมองความหมายต่างๆ และภาพคร่าวๆก่อน

หัวใจของ LEAN ?

การออกจาก comfortzone คือการเรียนรู้ ค่อยเป็นค่อยไป


จริงๆแล้ว LEAN เป็นกระบวนการวิทยาศาสตร์

กระบวนการวิทยาศาสตร์

สมมติฐาน → วางแผน → ทดลอง → วัดผล → ปรับปรุงการทดลอง

วางแผน = PLAN

ทดลอง = DO

วัดผล = CHECK

ปรับปรุง = ACT

Deming Cycle (PDCA)

วงจรในการพัฒนาคุณภาพ ปรับปรุงกระบวนการทำงาน อย่างต่อเนื่อง เริ่มต้นจากวางแผน ไปจนถึงการปรับปรุง แบ่งเป็นรอบๆไป


PDCA ก็เหมือน อิทธิบาท 4 เมื่อคนเรามีความชอบ (ฉันทะ) ก็จะวางแผน (Plan) จากนั้นก็ ลงมือทำ (วิริยะ, Do)

ไม่ว่าจะมอง LEAN ในมุมของ การออกจาก Comfortzone, การเรียนรู้ค่อยเป็นค่อยไป, กระบวนการวิทยาศาสตร์ และ วงจรการพัฒนาคุณภาพ ทุกอย่างล้วนเหมือนกัน คือ พัฒนาและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement) หรือจะเรียกว่า KAIZEN


4. LEAN เป็นแนวคิด ส่วน KAIZEN เป็นวิถีปฏิบัติ

เพราะในโลกนี้ไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบ เราจึงต้องพัฒนาต่อเนื่อง (KAIZEN)

Nothing is perfect → Continuous Improvement

KAIZEN (5Why)

  • เมื่อเกิดปัญหาขึ้น ให้ถามทำไม ไปเลย 5 ครั้ง จริงๆแล้วกี่ครั้งก็ได้ จนกว่าจะเจอต้นตอของปัญหา

  • ในแต่ละปัญหาที่เกิดขึ้นจะมีปัญหาในแต่ละชั้นอยู่ การถามทำไม เราจะมองปัญหา และแก้ออกได้ทีละชั้น จนสุดท้ายไปเจอที่ Root Cause

  • ส่วนใหญ่คนไทยอาจจะไม่ชอบคำถาม ทำไม ทำไม อาจจะเปลี่ยนเป็น อะไรคือสาเหตุของปัญหานี้หรอ ? ก็จะดู Soft ลง


KAIZEN (Gemba)

ไปดูมาให้เห็นกับตา อย่ามามโน

โดยปกติ มักจะพูดกันประมาณว่า ของจริง พื้นที่จริง ตัวเลขที่ได้มาไม่ได้มั่ว แต่มีคนจริงๆ อยู่ข้างหลัง มีลูกค้าจริงๆอยู่ ต้องไปสัมผัส ต้องไปถามต้องไปคลุกคลี ไม่ใช่แค่บอกว่าทำงานแล้วจะได้แบบนี้ แบบนี้นะ แต่ต้องลงไปดู ไม่ว่าจะอยู่ระดับไหนก็ตาม มีคำกล่าวว่า “ผู้จัดการโรงงานต้องล้างมือจากการเปื้อนน้ำมันวันละ 3 ครั้ง” → “อย่าอยู่แต่ในห้อง”

KAIZEN (สรุปแผ่นเดียว)

ไม่ว่าการประชุมจะใหญ่มากน้อยแค่ไหน ก็จะใช้แค่กระดาษแผ่นเดียว

จุดเด่นคือเห็นแล้วเข้าใจ ไม่ใช่อ่านแล้วเข้าใจ (at a glance) สำคัญที่ ไม่ได้ทำให้สมบูรณ์ในครั้งแรก ก็เขียนมาสักแผ่นก่อนแล้วค่อยแก้ KAIZEN แล้ว ต้อง KAIZEN ต่อได้อีก

KAIZEN (Standardization)

เมื่อเราพัฒนาปรับปรุงต่อเนื่องไปเรื่อยๆ เราทดลองกับวิธีใหม่ๆ

แล้วเราก็จัดทำมาตรฐานใหม่ เราจะอยู่ในระดับที่สูงขึ้นไปเรื่อยๆ


บทความต้นฉบับ : https://blog.cleverse.com/2018/11/09/lean-why-less-is-more/


310 views0 comments
bottom of page